ในปีพุทธศักราช 2529 การสอนระดับศิลปศาสตร์บัณฑิต (ศศ.บ.) โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษได้แยกตัวออกมาจากภาควิชาภาษาต่างประเทศ ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต สาขาศิลปศาสตร์ ภาษาอังกฤษหลักสูตร 4 ปี อีกทั้งยังรับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนใน สาขาวิชาโทภาษาอังกฤษ ได้แก่ สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวการโรงแรม, สาขาวิชานิเทศศาสตร์ และสาขาวิชาอื่น ๆ ตลอดจนรายวิชาสาขาการศึกษาทั่วไป คือ วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสืบค้น และวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน นอกจากนี้แล้วโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษยังได้ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้จัดบริการความรู้ภาษาต่างประเทศแก่บุคคลภายนอกเพื่อบริการชุมชนในภาษาต่างๆ อาทิ เช่น ภาษาอังกฤษ ทั้งในส่วนกลาง คือกทม. และต่างจังหวัด เช่น นครนายก ปราจีนบุรี ฯลฯ
ในปี 2551 ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ โดยมุ่งเน้นด้านความรู้และการฝึกทักาะภาษาอังกฤษทั้งด้านการประกอบการวิชาชีพและการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น โดยสามารถเลือกเรียนในกลุ่มวิชาการสอนภาษาอังกฤษ และ กลุ่มการแปล เพื่อเพิ่มความชัดเจนตามความต้องการของผู้เรียนมากขึ้น นอกจากนั้นหลักสูตรภาษาอังกฤษยังได้ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จัดบริการความรู้ภาษาต่างประเทศ แก่บุคคลภายนอกเพื่อบริการชุมชนให้ได้รับความรู้ภาษาอังกฤษทั้งในส่วนกลาง กทมและต่างจังหวัด
ต่อมา ในปีพุทธศักราช 2554 มีการปรับปรุงและพัฒนา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (4 ปี) ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2548 และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ในการปรับปรุง หลักสูตร สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ให้มีความทันสมัย มีการศึกษาแก้ไขข้อบกพร่อง เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุก 5 ปี โดยคำนึงถึงปัจจัยของสถานการณ์ภายนอก ตลอดจนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม
ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพทั้งด้านองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารทางวิชาการและวิชาชีพ เพื่อสร้างทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาตนเอง มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ปัญหา และปรับตัวเข้ากับสังคมและวัฒนธรรมที่หลากหลาย สามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติในการสื่อสารระหว่างประเทศ
สร้างหลักสูตรภาษาอังกฤษที่เปี่ยมคุณภาพในการบริหารงาน และจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตที่ “เก่ง” และ “ดี” มีความรู้ความสามารถทั้งด้านวิชาการ ด้านเทคโนโลยี ทักษะวิชาชีพที่โดดเด่นเป็นที่ยอมรับของสังคม และเป็นที่ต้องการตลาดแรงงานหลายสาขาอาชีพ
หลักสูตรภาษาอังกฤษได้กำหนดพันธกิจที่ต้องปฏิบัติทั้งสิ้น 6 ด้าน ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุสำเร็จตามปรัชญา และวิสัยทัศน์ที่ได้ตั้งไว้
1.ด้านการบริหารจัดการ
2.ด้านการจัดการศึกษา
3.ด้านการปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพการศึกษา
4.ด้านการวิจัย
5.ด้านกิจการนักศึกษา
6.ด้านการพัฒนาส่งเสริมสังคมและบริการชุมชน
เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1.มีความรู้ และทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ
2.มีความรู้ ความสามารถบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการประกอบวิชาชีพ และส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาตนเอง
3.สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและวัฒนธรรมที่หลากหลายในประชาคมสังคมวัฒนธรรมนานาชาติ
4.สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.มีคุณธรรมจริยธรรม มีบุคลิกภาพที่ดี ส่งเสริมต่อการประกอบอาชีพ และมีความเป็นประชาธิปไตย
1. เจ้าหน้าที่บริษัทหรือองค์กรระหว่างประเทศ
2. พนักงานในธุรกิจบริการ
3. เจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์
4. ล่าม
5. นักแปลเอกสาร
6. เลขานุการ
7. นักวิชาการภาษาอังกฤษ
8. พนักงานประชาสัมพันธ์